โจน ออฟ อาร์ค วีรสตรีหญิง


                                 โจน ออฟ อาร์ค หรือ ณาน ดาร์ก


             ฌานเป็นบุตรีของฌาคส์ ดาร์กและอิสซาเบลลา โรเม  ในหมู่บ้านโดมเรมี (Domrémy) ที่ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดัชชีบาร์ (ต่อมาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นลอร์แรนและเปลี่ยนชื่อเป็นโดมเรมี-ลา-ปูเซลล์)  บิดามารดาของฌานมีที่ดินทำการเกษตรกรรมราว 50 เอเคอร์ (0.2 ตารางกิโลเมตร) บิดามีรายได้เพิ่มจากการมีหน้าที่เก็บภาษีและเป็นยามในหมู่บ้าน ที่ตั้งของที่ดินของครอบครัวดาร์กอยู่ในบริเวณทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือที่ล้อมรอบโดยดินแดนเบอร์กันดีแต่ เป็นหมู่บ้านที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมู่บ้านที่ฌานเติบโตขึ้นมาก็ถูกรุกรานหลายครั้งและครั้งหนึ่งถึงกับถูกเผา

               เมื่ออายุได้ 16 ปี ฌานก็ขอให้ดูร็อง ลาซัว (Durand Lassois) ผู้เป็นญาตินำตัวไป Vaucouleurs เพื่อไปร้องขอให้ผู้บังคับบัญชากองทหาร เคานท์โรแบร์ต เดอ โบดริคูร์ต (Robert de Baudricourt) ให้อนุญาตให้ไปเฝ้ามกุฎราชกุมารชาร์ลส์ในราชสำนักฝรั่งเศสที่ชีนง (Chinon) คำตอบเสียดสีของโบดริคูร์ตมิได้ทำให้ฌานเปลี่ยนใจ ฌานกลับมาในเดือนมกราคมปีต่อมาและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญสองคน: ฌอง เด เมซ (Jean de Metz) และ แบร์ตรองด์ เดอ ปูเลนยี (Bertrand de Poulengy) ภายใต้การสนับสนุนของบุคคลสองคนนี้ฌานก็ได้รับการสัมภาษณ์เป็นครั้งที่สองที่ทำนายผลของยุทธการแฮริงส์ (Battle of the Herrings) ไม่ไกลจากออร์เลอองส์

                 ต่อมา โรแบร์ต เดอ โบดริคูร์ต อนุญาตการเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ของฌานที่ ชีนงเมื่อ ได้รับข่าวยืนยันผลของสงครามว่าเป็นไปตามที่ฌานทำนายไว้ก่อนหน้านั้น ฌานเดินทางไปชีนงโดยการฝ่าดินแดนเบอร์กันดีของฝ่ายศัตรูโดยแต่งตัวเป็น ผู้ชาย เมื่อไปถึงราชสำนักฌานก็สร้างความประทับใจให้แก่ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ระหว่างการเข้าเฝ้าเป็นการส่วนตัว จากนั้นพระองค์ก็มีพระราชโองการให้ทำการสืบถามถึงเบื้องหลังของฌานและตรวจสอบความรู้ทาง เทววิทยาคริสเตียน ที่ปัวตีเย (Poitiers) เพื่อที่จะพิสูจน์ยืนยันถึงความมีศีลธรรมของฌาน ในระหว่างนั้นโยลันเดอแห่งอารากอน (Yolande d'Aragon) แม่ยายของพระเจ้าชาร์ลส์ ก็พยายามหาทุนเพื่อหากำลังไปช่วยปลดปล่อย ออร์เลอองส์ที่ ถูกล้อมโดยอังกฤษอยู่ ฌานจึงยื่นคำร้องขอติดตามไปกับกองทหารด้วยโดยการแต่งตัวเป็นอัศวิน เครื่องแต่งตัว, อาวุธ, ม้า, ธง และผู้ติดตามของฌานเป็นของที่ได้มาจากการอุทิศหรือผู้อาสา กล่าวกันว่าเสื้อเกราะของฌานเป็นสีขาว นักประวัติศาสตร์สตีเฟน ดับเบิบยู. ริชชีให้คำอธิบายว่าความดึงดูดของฌานขณะนั้นเป็นสิ่งเดียวที่ให้ความหวังแก่ กองทหารที่แทบจะไม่อยู่ในสภาพที่จะต่อสู้ได้

                                               (ซากท้องพระโรงปราสาทชินง)
                                                      

                  ฌานมาถึง ออร์เลอ็อง เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1429 แต่ ฌ็อง เดอ ดูว์นัว (Jean de Dunois) ผู้เป็นประมุขของตระกูล ดยุกแห่งออร์เลอ็องไม่ยอมรับฌานและกีดกันจากการเข้าร่วมประชุมในสภาสงครามและไม่ยอมบอกฌานเมื่อมีการต่อสู้เกิดขึ้น แต่การกระทำเช่นนั้นก็มิได้หยุดยั้งฌานจากการปรากฏตัวในการประชุมสภาต่าง ๆ และในการเข้าร่วมรบ แต่ความเกี่ยวข้องของฌานในการเป็นผู้นำทางการทหารที่แท้จริงนั้นเป็นหัวข้อ ของการถกเถียงกันทางประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์เก่าเช่นเอดูอาร์ด เปร์รอยสรุปว่าฌานเป็นผู้ถือธงและมีหน้าที่สำคัญในการเป็นผู้เป็นแรงบันดาล ใจแก่กองทหาร ข้อวิจัยเช่นนี้มักจะมีพื้นฐานมาจากคำให้การในการพิจารณาคดีครั้งแรก หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณาม” (procès en condamnation) ที่ฌานให้การว่าเป็นผู้ชอบถือธงมากกว่าถือดาบ แต่นักประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้มีความสนใจในคำให้การในการพิจารณาคดี ครั้งที่สอง หรือที่เรียกว่า “การพิจารณาคดีประณามเป็นโมฆะ” (procès en réhabilitation) เสนอความเห็นว่านายทหารด้วยกันสรรเสริญว่าฌานเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทาง ยุทธวิธี (tacticien) และเป็นผู้มีความสำเร็จทางการวางแผนทางยุทธศาสตร์ (stratège) ตัวอย่างของฝ่ายนี้ก็ได้แก่ความเห็นของสตีเฟน ดับเบิบยู. ริชชีที่กล่าวว่า “เธอนำกองทหารที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดหลายครั้งที่ทำให้แนวโน้มของ สงครามผันไป” แต่ไม่ว่าความเห็นจะต่างกันอย่างใดนักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็มีความเห็น ตรงกันอยู่อย่างหนึ่งได้ว่ากองทหารฝรั่งเศสขณะนั้นมีความพึงพอใจต่อความ สำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้นที่ฌานเข้ามามีบทบาท
                   
                  ฌานไม่เห็นด้วยกับนโยบายที่ระมัดระวังที่เป็นลักษณะของนโยบายของผู้นำ ฝ่ายฝรั่งเศสใช้ปฏิบัติอยู่ ระหว่างห้าเดือนของการถูกล้อมก่อนที่ฌานจะเข้ามามีบทบาท ผู้รักษาเมืองออร์เลอ็องพยายามออกไปต่อสู้กับฝ่ายอังกฤษเพียงครั้งเดียวและ จบลงด้วยความล้มเหลว
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมฝ่ายฝรั่งเศสที่นำโดยฌานก็เข้าโจมตีและยึดป้อมแซ็งลูป (Saint Loup) ในบริเวณออร์เลอองส์ ตามด้วยการยึดป้อมที่สองแซ็งฌ็อง เลอ บล็องซึ่งไม่มีผู้รักษาการในวันรุ่งขึ้น จึงทำให้เป็นยึดที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ วันต่อมาฌานก็กล่าวต่อต้านฌอง ดอร์เลอองในสภาสงครามโดยการเรียกร้องให้มีการโจมตีฝ่ายศัตรูขึ้นอีกครั้ง ฌอง ดอร์เลอองไม่เห็นด้วยและสั่งให้ปิดประตูเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้มีใครออกไป รบ แต่ฌานก็รวบรวมชาวเมืองและทหารไปบังคับให้นายกเทศมนตรีเปิดประตูเมือง ฌานขี่ม้าออกไปพร้อมด้วยกัปตันผู้ช่วยอีกคนหนึ่งกับกองทหารไปยึดป้อมแซ็งโตกุสแต็ง (Saint Augustins) ค่ำวันนั้นฌานก็ได้รับข่าวว่าตนเองถูกกีดกันจากการประชุมของสภาสงครามที่ผู้ นำในสภาตัดสินใจรอทหารกองหนุนก่อนที่จะออกไปต่อสู้ครั้งใหม่ ฌานไม่สนใจกับข้อตกลงของสภาและนำทัพออกไปโจมตีที่ตั้งมั่นสำคัญของอังกฤษที่ เรียกว่า “เล ตูเรลล์” ("les Tourelles") เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมผู้ร่วมสมัยยอมรับกันว่าฌานว่าเป็นวีรสตรีของสงคราม หลังจากที่ได้รับความบาดเจ็บจากลูกธนูที่คอแต่ยังสามารถนำทัพในการต่อสู้ต่อ ไปทั้งที่บาดเจ็บในการต่อสู้ครั้งสุดท้ายที่ออร์เลอ็องได้


                  หลังจากชัยชนะในออร์เลอ็องแล้วฌานก็ถวายคำแนะนำให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แต่งตั้งเธอให้เป็นผู้บังคับการกองทหารร่วมกับฌ็อง ดยุกแห่งอาล็องซง (Jean II, Duc d'Alençon) และได้รับพระราชานุญาตให้ยึดสะพานบนฝั่งแม่น้ำลัวร์ที่ไม่ไกลจากที่นั้นคืน ก่อนหน้าที่จะเดินทัพต่อไปยังแรงส์เพื่อไปทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คำแนะนำของฌานเป็นคำแนะนำที่ออกจะเป็นความแนะนำที่ออกจะบ้าบิ่นเพราะแรงส์ห่างจากปารีสราวสองเท่าและอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู
ระหว่างทางฝ่ายฝรั่งเศสยึดเมืองต่างๆ คืนมาได้ที่รวมทั้วฌาร์โก (Bataille de Jargeau) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน, เมิง-เซอร์-ลัวร์ (Bataille de Meung-sur-Loire) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน และต่อมาโบจองซีเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน ดยุกแห่งอาลองซงตกลงตามการตัดสินใจของฌานทุกอย่าง แม่ทัพคนอื่นๆ รวมทั้งฌอง ดอร์เลอองที่มีความประทับใจในการได้รับชัยชนะของฌานที่ออร์เลอองส์ก็หัน มาสนับสนุนฌาน ดยุกแห่งอาลองซงสรรเสริญฌานว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตตนเองที่ฌาร์โก เมื่อฌานเตือนถึงอันตรายที่มาจากปืนใหญ่ที่ระดมเข้ามาในระหว่างยุทธการเดียวกันฌานก็ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนใหญ่บนหมวกเหล็กขณะ ที่กำลังปีนกำแพง กองหนุนของอังกฤษมาถึงบริเวณที่ต่อสู้กันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนภายใต้การนำของเซอร์จอห์น ฟาสทอล์ฟ (John Fastolf) ในยุทธการพาเตย์ (Bataille de Patay) ที่เหมือนกับยุทธการอาแฌงคูร์ตแต่ ในทางกลับกัน ทหารฝรั่งเศสโจมตีกองขมังธนูของฝ่ายอังกฤษก่อนที่กองขมังธนูจะมีโอกาสได้ ตั้งตัวในการโจมตีเสร็จ หลังจากนั้นกองทัพฝรั่งเศสก็ได้เปรียบและเข้าจู่โจมทำลายกองทัพอังกฤษ ในที่สุดฝ่ายอังกฤษถ้าไม่ถูกฆ่าตายหรือได้รับบาดเจ็บก็หลบหนี ฟาสทอล์ฟหนีไปพร้อมกับผู้ติดตามไม่กี่คนและเป็นแพะรับบาปสำหรับความอับอาย ของอังกฤษ ฝ่ายฝรั่งเศสเสียผู้คนไปเพียงไม่เท่าไหร่

                  จากนั้นกองทัพฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่  7  ก็เริ่มเดินตั้งต้นเดินทัพจาก            เฌียง-เซอร์-ลัวร์  ไปยังแรงส์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนและยอมรับการยอมแพ้ที่มีเงื่อนไขของเมืองโอแซร์  ที่เป็นของเบอร์กันดีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เมืองที่ผ่านทุกเมืองต่างก็หันมาสวามิภักดิ์ต่อฝรั่งเศสโดยปราศจากการต่อต้าน ทรัวซึ่งเป็นสถานในการทำสนธิสัญญาที่พยายามตัดสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ยอมจำนนหลังจากถูกล้อมอยู่สี่วัน เมื่อกองทัพเดินทางไปถึงตรัวส์ก็พอดีกับการที่เสบียงหมดลง เอ็ดเวิร์ด ลูซี-สมิธ  จึงอ้างว่าฌานมีความโชคดีมากกว่าที่จะมีความสามารถจริงๆ ที่เห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ตรัวส์ ก่อนหน้าที่กองทัพฝรั่งเศสก็มีภราดาริชาร์ดเป็นไฟรอาร์ร่อน เร่อยู่ในบริเวณนั้นเที่ยวเทศนาถึงวันโลกาวินาศที่จะมาถึง และชักชวนให้ผู้คนเริ่มสะสมอาหารโดยการปลูกถั่วซึ่งเป็นพืชที่เก็บเกี่ยวได้ เมื่อต้นฤดู เมื่อกองทัพฝรั่งเศสมาถึงบริเวณนั้นในจังหวะเดียวกับที่ถั่วพร้อมที่จะเก็บ เกี่ยวได้พอดี

                                              (มหาวิหารน็อทร์ ดาม แห่งแรงส์)

                 แร็งส์เปิดประตูเมืองให้พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกระทำกันในวันรุ่งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1429 ที่มหาวิหารนอเทรอดามแห่งแรงส์ แม้ว่าฌานและดยุกแห่งอาล็องซงจะพยายามถวายคำแนะนำให้ทรงเดินทัพต่อไปยัง ปารีส แต่ทางราชสำนักยังพยายามเจรจาต่อรองแสวงหาสันติภาพกับดยุกแห่งเบอร์กันดี แต่ฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีก็ละเมิดสัญญาเพื่อถ่วงเวลาในการรอกองหนุนจากปารีส กองทัพฝ่ายฝรั่งเศสเดินทัพไปยังปารีสระหว่างทางก็ผ่านเมืองต่างๆ ที่ยอมสวามิภักดิ์โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน พระเจ้าเฮนรีที่ 6 นำกองทัพฝ่ายอังกฤษที่เผชิญหน้ากับฝ่ายฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ฝ่ายฝรั่งเศสเข้าโจมตีปารีสเมื่อวันที่ 8 กันยายน แม้จะได้รับการบาดเจ็บจากธนูที่ขาแต่ฌานก็ยังคงนำกองทัพจนกระทั่งวันที่การ ต่อสู้สิ้นสุดลง แต่วันรุ่งขึ้นฌานก็ได้รับพระราชโองการให้ถอยทัพ หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ ในเดือนตุลาคมฌานก็สามารถยึดเมือง แซงต์ปิแยร์-เล-มูติเยร์  สำเร็จ

                 หลังจากการล้อมเมือง ชาริเต-เซอร์-ลัวร์ ในเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมแล้ว ฌานก็เดินทัพต่อไปยัง คองเพียญน์  ในเดือนเมษายนต่อมาเพื่อป้องกันจากการถูกล้อมเมือง  โดยฝ่ายอังกฤษและเบอร์กันดี แต่การต่อสู้อย่างประปรายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1430 นำไปสู่การจับกุมของฌาน เมื่อมีคำสั่งให้ถอยฌานก็ปฏิบัติตัวอย่างผู้นำโดยเป็นบุคคลสุดท้ายที่ทิ้ง สนามรบ ฝ่ายเบอร์กันดีเข้าล้อมกองหลัง ฌานต้องลงจากหลังเพราะถูกโจมตีโดยกองขมังธนูและตอนแรกก็มิได้ยอมจำนนทันที

                 ตามธรรมเนียมของ สมัยกลาง การจับกุม เชลยสงคราม เป็นการจับกุมแบบเรียกค่าไถ่ แต่ครอบครัวของฌานเป็นครอบครัวที่ยากจนจึงไม่สามารถหาเงินมาไถ่ตัวฌานจากที่ คุมขังได้ นักประวัติหลายคนประณามพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ที่ไม่ทรงเข้ายุ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือฌานในกรณีนี้ ฌานเองพยายามหลบหนีหลายครั้งๆ หนึ่งโดยการกระโดดจากหอที่สูงจากพื้นดินราว 21 ที่แวร์ม็องดัวลงไปบนดินที่หยุ่นของคูเมืองแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นก็ถูกย้ายตัวไปเมืองอาร์ราส  ในเบอร์กันดี และในที่สุดรัฐบาลอังกฤษก็ขอซื้อตัวฌานจากฟิลลิปเดอะกูด โดยมีปีแยร์ โคชง  บิชอปแห่งโบเวส์ ผู้เป็นผู้ฝักฝ่ายฝ่ายอังกฤษตั้งตนเป็นผู้มีบทบาทในการเจรจาต่อรองซื้อตัวและต่อมาในการพิจารณาคดีของฌาน



                                  (หอคอยที่รูอ็องที่ฌานถูกจำขังระหว่างการพิจารณาคดี)


               การพิจารณาคดีในข้อหานอกรีต ของฌานมีมูลมาจากสถานะการณ์ทางการเมือง จอห์นแห่งแลงคาสเตอร์ ดยุกแห่งเบดฟอร์ดที่ 1 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในนามของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ผู้เป็นหลาน เห็นว่าเมื่อฌานเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อการการราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 การลงโทษฌานจึงเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายอำนาจอันถูกต้องตามกฎหมายของพระเจ้า ชาร์ลส์ที่ 7 โดยตรง การดำเนินการทางกฎหมายเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1431 ที่รูอ็องซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลผู้ยึดครองฝรั่งเศสของอังกฤษในขณะนั้น กระบวนการมีความลักลั่นในหลายประเด็น

               ปัญหาใหญ่ๆ ที่พอสรุปได้ก็ได้แก่ อำนาจทางศาลของผู้พิพากษาปีแยร์ โคชงไม่ใช่อำนาจที่แท้จริงแต่เป็นอำนาจที่คิดค้นขึ้นปีแยร์ โคชงได้รับแต่งตั้งเพราะเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลอังกฤษและเป็นผู้ที่รับผิดชอบ ในค้าใช้จ่ายในการพิจารณาคดีทั้งหมดที่เกิดขึ้น และพนักงานศาล นิโคลัส เบลลีย์  ก็ได้รับจ้างให้รวบรวมคำให้การที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฌานและไม่พบหลักฐานใดที่คัดค้าน ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวศาลก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการสนับสนุนข้อกล่าวหา สำหรับการพิจารณาคดี นอกจากนั้นศาลก็ยังละเมิดกฎหมายศาสนจักรที่ปฏิเสธไม่ให้ฌานมีที่ปรึกษาทาง กฎหมาย เมื่อเปิดการสอบสวนเป็นการสารธารณะเป็นครั้งแรกฌานก็ประท้วงว่าผู้ที่ปรากฏ ตัวในศาลทั้งหมดเป็นฝ่ายตรงข้ามและขอให้ศาลเชิญ “ผู้แทนทางศาสนาของฝรั่งเศส” มาร่วมในการพิจารณคดีด้วย

                  บันทึกการพิจารณาคดีแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้มีปัญญาอันเฉียบแหลมของฌาน สำเนาบันทึกข้อแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างสุขุมอย่างมีปฏิภาณ เมื่อ “ถูกถามว่าเธอทราบไหมว่าเธออยู่ภายใต้การพิทักษ์ของพระเจ้า, ซึ่งฌานก็ให้ตอบว่า “ถ้าข้าพเจ้ามิได้, ก็ขอให้พระองค์ทรงทำเช่นนั้น; แต่ถ้าข้าพเจ้าได้, ก็ขอให้พระองค์ทรงรักษาไว้เช่นนั้น”  คำถามนี้เป็นคำถามลวง กฎของคริสตจักรระบุว่าไม่มีผู้ใดที่สามารถทราบได้แน่นอนว่าอยู่ภายใต้การ พิทักษ์ของพระเจ้า ถ้าฌานตอบรับก็เท่ากับเป็นการให้การที่เป็นโทษต่อตนเองในข้อหาว่านอกรีต  แต่ถ้าตอบปฏิเสธก็เท่ากับเป็นการสารภาพความผิดของตนเอง ผู้บันทึกคำให้การ Boisguillaume ให้การต่อมาว่าคำตอบดังกล่าวของฌานทำให้ผู้สืบสวนในศาลต่างก็ตกตะลึงไปตามๆ กันในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักเขียนบทละครจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์พบว่าบทโต้ตอบในศาลเป็นบทโต้ตอบที่น่าประทับใจจนนำสำเนาการบันทึกไปใช้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในบทละครเรื่อง “นักบุญฌาน”

                  ผู้เป็นฝ่ายศาลหลายคนต่อมาให้การในการพิจารณาคดีครั้งต่อมาว่าสำเนาคำให้ การได้รับการประดิษฐ์เปลี่ยนแปลง  เพื่อทำให้เห็นว่าฌานมีความผิดตามข้อกล่าวหา นักบวชหลายคนอ้างว่าต้องทำหน้าที่เพราะถูกบังคับที่รวมทั้งผู้ไต่สวนฌอง เลแมเตร  และบางคนอ้างว่าถึงกับได้รับการขู่ว่าจะถูกฆ่าจากฝ่ายอังกฤษ ภายใต้ข้อแนะนำในการไต่สวน ฌานควรจะถูกจำขังในที่จำขังสำหรับนักโทษที่ถูกกล่าวหาในข้อหาที่เกี่ยวกับ ศาสนาเท่านั้นและควรจะมีผู้คุมเป็นสตรี (เช่นแม่ชี) แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นฌานกลับถูกจำขังร่วมกับนักโทษในข้อหาทางฆราวาสและ คุมโดยทหารด้วยกัน ปีแยร์ โคชงปฏิเสธคำร้องของฌานต่อสภาบาทหลวงแห่งบาเซิล ) และพระสันตะปาปาซึ่งถ้าทำได้ก็เท่ากับเป็นการยุติการดำเนินการพิจารณาคดีของศาล

                  ข้อหาสิบสองข้อที่สรุปโดยศาลขัดกับบันทึกของศาลเองที่ได้รับการเปลี่ยนแปลง จำเลยผู้ไม่มีการศึกษายอมลงชื่อในเอกสาร การบอกสละโดยสาบาน  โดยปราศจากความเข้าใจถึงเนื้อหาและความหมายภายใต้การขู่เข็ญว่าจะถูกประหารชีวิต นอกจากนั้นศาลก็ยังได้สลับเอกสารการบอกสละโดยสาบานฉบับอื่นกับเอกสารที่ใช้อย่างเป็นทางการ

                 ความผิดในการนอกรีตเป็นความผิดที่มีโทษถึงตายสำหรับผู้ปฏิบัติซ้ำสอง ฌานยอมแต่งตัวอย่างสตรีเมื่อถูกจับแต่สองสามวันต่อมาก็ถูกข่มขืนในที่จำขัง ฌานจึงกลับไปแต่งตัวเป็นผู้ชายอีกซึ่งอาจจะเป็นการทำเพื่อเลี่ยงการถูกทำ ร้ายในฐานะที่เป็นสตรีหรือตามคำให้การของฌอง มาส์เซอที่กล่าวว่าเสื้อผ้าของฌานถูกขโมยและไม่เหลืออะไรไว้ให้สวม

                 พยานผู้เห็นเหตุการณ์บรรยายการประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431 ว่าฌานถูกมัดกับเสาสูงหน้าตลาดเก่าในรูอ็อง ฌานขอให้บาทหลวงมาร์แต็ง ลาด์เวนู และบาทหลวงอิแซงบาร์ต เด ลา ปิแยร์ถือกางเขนไว้ตรงหน้า หลังจากที่ฌานเสียชีวิตไปแล้วฝ่ายอังกฤษกวาดถ่านหินออกจนเห็นร่างที่ถูกเผา ไหม้เพื่อให้เป็นที่ทราบกันว่าฌานเสียชีวิตจริงและมิได้หลบหนี เสร็จแล้วก็เผาร่างที่เหลืออีกสองครั้งเพื่อไม่ให้เหลือสิ่งใดที่สามารถเก็บ ไปเป็นเรลิกได้ หลังจากนั้นก็โยนสิ่งที่เหลือลงไปใน แม่น้ำแซน

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม