เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง

โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่ง ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มา ดงในแคว้นลอแรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ โช แปงเป็นคนรูปร่างบอบบาง อ่อนแอ เป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวง่าย มีความรู้สึกรักชาติ รักมาตุภูมิมาตั้งแต่เด็ก เพราะเขาได้เห็นภาพที่ทหารปรัสเซีย (เยอรมัน) ออสเตรียและรัสเซีย เข้ารุกรานประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเขา แทบทุกวันที่โชแปงมองออกไปนอกบ้านเขาจะเห็นทหารรัสเซียฉุดกระชากทุบตีนักโทษ ชาวโปแลนด์ที่ผอมโซ ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ ต่อต้านระบบทรราช และกำลังจะถูกเนรเทศไปอยู่ไซบีเรีย ความรู้สึกหดหู่คับแค้นใจอันนี้เกิดเป็นแรงบันดาลใจทำให้เขาเขียนเพลงเพื่อ มาตุภูมิของเขา กล่าวกันว่าเพลงชิ้นแรกที่เขาประพันธ์ คือ Polonaise in G Minor แต่เพลง Polonaise ที่มีชื่อเสียงของเขา คือPOLONAISE IN A-FLAT MAJOR, OPUS 53 และเขาได้เปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนีและหลังจากปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ เป็นหลัก

เมื่อเขาเริ่มเป็นหนุ่มอายุประมาณ 19 ปี ในปี ค.ศ. 1829 เขาไปหลงรักผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อ คอนสทันย่าโชแปงเกิดความรักจนมีแรงบันดาลใจให้เขียนเพลงท่อนที่เรียกว่า ลาร์เก็ตโต ในผลงาน Piano Concerto No.2 in F minor ในราวสองปีต่อมา คอสทันย่าก็แต่งงานไปกับพ่อค้าผู้มั่งคั่งแห่งวอร์ซอว์ ผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ที่โชแปงรักและเธอก็รักเขา คือ มาเรีย ว้อดซินสก้า ซึ่งเป็นน้องสาวของเพื่อนที่เคยเรียนหนังสือมาด้วยกันตอนเด็กๆ โชแปงมาพบมาเรียที่เมือง เดรสเดน ประเทศเยอรมัน และโชแปงได้แต่งเพลง Nocturne No.1 Bb ให้แก่เธอ เมื่อโชแปงกลับจากเดรสเดนแล้ว เขาแต่งเพลงเกี่ยวกับความทรงจำของเขาที่นั่น คือเพลง BALLADE No 1in G Minor Opus 23 ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันได้ว่า มาเรีย วอดซินสก้า คือเนื้อหาของเพลงนี้ และเมื่อ ชูมันน์ได้ฟังเพลงนี้ก็ลงความเห็นว่ามันเป็นเพลงที่งดงามมาก ในภายหลังมาเรียได้แต่งงานไปกับท่านเคาน์โยเซฟ สตาร์เบค แต่ไม่มีความสุขในชีวิตสมรส จนเวลาล่วงเลยไปถึง 7 ปี เธอจึงเลิกกับสามี

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1830 โชแปงต้องเดินทางออกนอกประเทศโปแลนด์เนื่องจากเขาเป็นบุคคลหนึ่ง ที่ปลุกระดมให้ชาวโปแลนด์ต่อต้านการครอบครองของออสเตรียและรัสเซีย พ่อแม่ พี่น้อง อาจารย์และเพื่อนๆเศร้าใจกับการที่เขาต้องจากไป จึงได้มอบก้อนดินของโปแลนด์ให้เขาเอาติดตัวไป และก้อนดินก้อนนั้น โชแปงได้เก็บไว้จนวาระสุดท้ายของชีวิต เมื่อเขาเดินทางจากโปแลนด์ไปอยู่ฝรั่งเศส เขาหลงใหลในตัวแม่ม่ายลูกติด นักเขียนชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1837 โชแปงได้เริ่มมีความสัมพันธ์กับยอร์ช ชังค์นักประพันธ์ผู้กำลังมีชื่อเสียง ชื่อจริงของเธอ คืด ออโรร์ ดือ เดอวองต์ ผู้มีอายุแก่กว่าโชแปงถึง 6 ปี เธอเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ฟิกาโร และ เรอวู เดอ ปารีส์ เธอชอบสวมเสื้อผ้าแบบผู้ชาย และสูบซิการ์ มีลูกติดสองคน และชอบเปลี่ยนคนรักอยู่บ่อยๆ โชแปงประทับใจในความเก่งกล้าสามารถ และความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวของเธอ เขาทั้งสองหลบไปอยู่ด้วยกันอย่างเงียบๆ และก็ได้ทำให้โชแปงได้ละเลยเรื่องการงานทางด้านดนตรีไปมาก ซึ่งก็อาจเป็นเพราะอารมณ์อันอ่อนไหวของเขานั่นเอง แล้ววันหนื่งเพื่อนและอาจารย์ Joseph Elsner ได้เดินทางมาหาเขาที่ปารีส ขอร้องให้โชแปงช่วยแสดงคอนเสิร์ตเพื่อหาเงินไปช่วยเหลือชาวโปแลนด์ที่ต่อสู้ เพื่อเอกราช แต่ในที่สุดเสียงเรียกร้องของความรักชาติ ก็กระตุ้นให้โชแปงได้หวนกลับมาแสดงคอนเสิร์ต เพื่อหาเงินไปช่วยพี่น้องชาวโปแลนด์ของเขา แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากยอร์ชชังค์ก็ตาม โชแปงได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของเพื่อนร่วมชาติอีกครั้ง ทำให้เขาต้องหยิบก้อนดินจากโปแลนด์ที่เพื่อนมอบไว้ให้เขาขึ้นมากำอย่างปวด ร้าวใจ“ ดินก้อนนี้ ตีตุสและพี่น้องได้ให้แก่เรามาเมื่อวันที่เราจะจากโปแลนด์ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เราระลึกถึงเสียงร่ำไห้ของพี่น้องชาวโปแลนด์ที่ อยู่เบื้องหลัง เพื่อนเตือนให้เราขะมักเขม้นทำงานเสียสละเพื่อช่วยชาติ แต่เราได้ลืมคำสัญญา และคำสาบานของเราเสียสนิท แต่นี้ไปเราต้องปฎิบัติตามคำสาบาน” เขากล่าวพร้อม กับยกก้อนดินขึ้นจูบ

ดังนั้นในปี ค.ศ.1848 เขาจึงออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตไปตามเมืองหลวงของประเทศต่างๆ ลอนดอน แมดริด เวียนนา บาร์เซโลน่า บรัสเซลส์ และเบอร์ลิน เพื่อนำเงินไปช่วยพี่น้องชาวโปแลนด์ต่อสู้เพื่อเอกราช ต่อมาในปี ค.ศ.1847 ความสัมพันธ์ของโชแปงกับยอร์ชชังด์ ก็สิ้นสุดลง เนื่องจากลูกชายของเธอยิ่งไม่ชอบโชแปงขึ้นทุกวัน และสุขภาพของโชแปงก็เสื่อมทรุดลง เขามีอาการไอเป็นเลือดอยู่บ่อยๆ เพราะเขาเป็นวัณโรคมาตั้งแต่อยู่โปแลนด์แล้ว เดอลาครัวซ์และเพื่อนๆได้มาพบเห็นโชแปงในสภาพที่ร่างกายทรุดโทรมและยากลำบาก ทางการเงิน พวกเขาจึงพากันช่วยเหลือ พอวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1849 โชแปงก็อาการหนัก ลุกไม่ไหวและพูดไม่ค่อยได้แล้ว เขาขอให้เพื่อนๆช่วยเล่นเพลง “เรควิม” ของโมสาร์ทในงานศพของเขา และเขาได้กล่าวอำลาเพื่อนๆทุกคน และในที่สุด ใกล้จะรุ่งอรุณของวันที่ 17 ตุลาคม เขาก็สิ้นชีวิต เขามีอายุเพียง 39 ปีเท่านั้น งานศพของเขาที่ปารีส ใช้เวลาเตรียมงานศพถึง 13 วัน เพราะต้องเตรียมเรื่องนักร้องประสานเสียงที่จะมาร้องเพลง รีควีมของโมสาร์ท ซึ่งเป็นเพลงที่โชแปงชอบมาก ขบวนแห่ศพอันยาวเหยียดได้เริ่มขึ้น มีการกล่าวสุนทรพจน์ตามประเพณีนิยม และในขณะที่โลงศพถูกหย่อนลงในหลุม ดินจากโปแลนด์ที่โชแปงได้เก็บรักษาไว้จนวาระสุดท้ายของชีวิตก็ได้ถูกโปรยลง ไปในหลุมฝังศพด้วย ที่หลุมฝังศพของเขามีคำจารึกว่า

         พักอยู่ในความสงบ
         วิญญาณอันงดงาม
         ศิลปินผู้สูงส่ง
         ความไม่มีวันตาย
         ได้เริ่มขึ้นแก่ท่านแล้ว

ผลงานทุกชิ้นของโชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน 



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม