ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน




ลุดวิจ ฟัน เบทโฮเฟิน (เยอรมัน: Ludwig van Beethoven16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี
เบทโฮเฟินเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคจินตนิยมผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่ มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่าง ๆ ที่เป็นรูปเบทโฮเฟิน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบทโฮเฟินได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่ มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ หมายเลข 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น

ผลงานซิมโฟนี

โจเซฟ ไฮเดินได้ประพันธ์ซิมโฟนีไว้กว่า 104 บท โมสาร์ทประพันธ์ ไว้กว่า 40 บท หากจะนับว่ามีคีตกวีรุ่นพี่เป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว เบทโฮเฟินไม่ได้รับถ่ายทอดมรดกด้านความรวดเร็วในการประพันธ์มาด้วย เพราะเขาประพันธ์ซิมโฟนีไว้ เพียง 9 บทเท่านั้น และเพิ่งจะเริ่มประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 10 แต่สำหรับซิมโฟนีทั้งเก้าบทของเบทโฮเฟินนั้น ทุกบทต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ซิมโฟนีสองบทแรกของเบทโฮเฟินได้รับแรงบันดาลใจและอิทธิพลจากดนตรีในยุคคลาสสิก อย่างไรก็ดี ซิมโฟนีหมายเลข 3 ที่มีชื่อเรียกว่า "อิรอยก้า" จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเรียบเรียงวงออร์เคสตราของ เบทโฮเฟิน ซิมโฟนีบทนี้แสดงถึงความทะเยอทะยานทางดนตรีมากกว่าบทก่อน ๆ โดดเด่นด้วยความสุดยอดของเพลงทุกท่อน และการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตรา เพราะแค่ท่อนแรกเพียงอย่างเดียวก็มีความยาวกว่าซิมโฟนีบทอื่น ๆ ที่ประพันธ์กันในสมัยนั้นแล้ว ผลงานอันอลังการชิ้นนี้ได้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นโปเลียน โบนาปาร์ต และส่งเบทโฮเฟินขึ้นสู่ตำแหน่งสุดยอดสถาปนิกทางดนตรี และเป็นคีตกวีคนแรกแห่งยุคโรแมนติก

แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นซิมโฟนีที่สั้นกว่าและคลาสสิกกว่าซิมโฟนีบทก่อนหน้า ท่วงทำนองของโศกนาฏกรรมในท่อนโหมโรงทำ ให้ซิมโฟนีหมายเลข 4 เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการทางรูปแบบของเบทโฮเฟิน ต่อจากนั้นก็ตามมาด้วยซิมโฟนีสุดอลังการสองบทที่ถูกประพันธ์ขึ้นในคืนเดียว กัน อันได้แก่ซิมโฟนีหมายเลข 5 และซิมโฟนีหมายเลข 6 - หมายเลข 5 นำเสนอทำนองหลักเป็นโน้ตสี่ตัว สั้น - สั้น - สั้น - ยาว สามารถเทียบได้กับซิมโฟนีหมายเลข 3 ในแง่ของความอลังการ และยังนำเสนอรูปแบบทางดนตรีใหม่ด้วยการนำทำนองหลักของโน้ตทั้งสี่ตัวกลับมา ใช้ตลอดทั้งเพลง ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า พาสโทราล นั้นชวนให้นึกถึงธรรมชาติที่เบทโฮเฟินรักเป็นหนักหนา นอกเหนือจากช่วงเวลาที่เงียบสงบชวนฝันที่ผู้ฟังสามารถรู้สึกได้เมื่อฟัง ซิมโฟนีบทนี้แล้ว มันยังประกอบด้วยท่อนที่แสดงถึงพายุโหมกระหน่ำที่เสียงเพลงสามารถถ่ายทอดออก มาได้อย่างเหมือนจริงที่สุดอีกด้วย
แม้ว่าซิมโฟนีหมายเลข 7 จะมีท่อนที่สองที่ใช้รูปแบบของเพลงมาร์ชงานศพ แต่ก็โดดเด่นด้วยรูปแบบที่สนุกสนานและจังหวะที่รุนแรงเร่าร้อนในท่อนจบของเพลง ริชาร์ด วากเนอร์ได้กล่าวถึงซิมโฟนีบทนี้ว่า เป็น "ท่อนจบอันเจิดจรัสสำหรับการเต้นรำ" ซิมโฟนีบทต่อมา (ซิมโฟนีหมายเลข 8) เป็นการย้อนกลับมาสู่รูปแบบคลาสสิก ด้วยท่วงทำนองที่เปล่งประกายและสื่อถึงจิตวิญญาณ
ท้ายสุด ซิมโฟนีหมายเลข 9 เป็นซิมโฟนีบทสุดท้ายที่เบทโฮเฟินประพันธ์จบ นับเป็นอัญมณีแห่งซิมโฟนีทั้งหลาย ประกอบด้วยบทเพลงสี่ท่อน รวมความยาวกว่าหนึ่งชั่วโมง และมิได้ยึดติดกับรูปแบบของโซนาตา แต่ละท่อนของซิมโฟนีบทนี้นับได้ว่าเป็นผลงานชั้นครูในตัวเอง แสดงให้เห็นว่าเบทโฮเฟินได้หลุดพ้นจากพันธนาการของยุคคลาสสิก และได้ค้นพบรูปแบบใหม่ในการเรียบเรียงเสียงประสานของวงออร์เคสตราในที่สุด ในท่อนสุดท้าย เบทโฮเฟินได้ใส่บทร้องประสานเสียงและวงควอเต็ตประสานเสียงเข้าไป เพื่อขับร้อง "บทเพลงแห่งความอภิรมย์" ซึ่งเป็นบทกวีของ ฟรีดริก ฟอน ชิลเลอร์ บทประพันธ์ชิ้นนี้ได้เรียกร้องให้มีความรักและภราดรภาพในหมู่มวลมนุษย์ และซิมโฟนีบทนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก "บทเพลงแห่งความอภิรมย์" ยังได้ถูกเลือกให้เป็นบทเพลงประจำชาติของยุโรปอีกด้วย
นอกเหนือจากซิมโฟนีแล้ว เบทโฮเฟินยังได้ประพันธ์ คอนแชร์โตสำหรับไวโอลิน ที่สุดแสนไพเราะไว้อีกด้วย และได้ถ่ายทอดบทเพลงเดียวกันออกมาเป็นคอนแชร์โตสำหรับเปียโน ที่ใช้ชื่อว่า คอนแชร์โตหมายเลข 6 นอกจากนั้นก็ยังมี คอนแชร์โตสามชิ้นสำหรับไวโอลิน เชลโล และ เปียโน และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนอีก 5 บท ซึ่งในบรรดาคอนแชร์โตทั้งห้าบทนี้ คอนแชร์โตหมายเลข 5 สำหรับเปียโน นับว่าเป็นรูปแบบของเบทโฮเฟินที่เด่นชัดที่สุด แต่ก็ไม่ควรลืมช่วงเวลาอันเข้มข้นในท่อนที่สองของคอนแชร์โตหมายเลข 4 สำหรับเปียโน
เบทโฮเฟินยังได้ประพันธ์เพลงโหมโรงอันเยี่ยมยอดไว้หลายบท (เลโอนอเร่, ปิศาจแห่งโพรเมเธอุส) แฟนตาซีสำหรับเปียโน วงขับร้องประสานเสียง และวงออร์เคสตราอีกหนึ่งบท ซึ่งทำนองหลักทำนองหนึ่งของเพลงนี้ได้กลายมาเป็นต้นแบบของ "บทเพลงแห่งความอภิรมย์"
นอกจากนี้ยังมีเพลงสวดมิสซา ซึ่งมี มิสซา โซเลมนิส โดดเด่นที่สุด ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผลงานดนตรีขับร้องทางศาสนาที่สำคัญที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ท้ายสุด เบทโฮเฟินได้ฝากผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกและเรื่องเดียวไว้ มีชื่อเรื่องว่า ฟิเดลิโอ นับเป็นผลงานที่เขาผูกพันมากที่สุด อีกทั้งยังทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจไปมากที่สุดอีกด้วย

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม