พระนางคลีโอพัตราที่7
คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ หรือรู้จักทั่วไปในนาม คลีโอพัตรา เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือทอเลมีที่ 12 ออเลติส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ "คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก
แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา
เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา"
พระนางมีพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน,
มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์
ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้
ปัจจุบัน คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้น ๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อน ๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกัน ลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา , สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศ เท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น
ซีซาร์ พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล - 47 ก่อนคริสตกาล พระนางสร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของเขา ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ พระนางให้กำเนิดพระโอรสชื่อทอเลมี ซีซาร์ อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดอำนาจของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน
พระนางกับซีซาเรียนเดินทางเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล ในช่วงเหตุการณ์ลอบสังหารซีซ่าร์
ก่อนกลับถึงอียิปต์เพียง เล็กน้อย ทอเลมีที่ 14 สวรรคตอย่างลึกลับ พระนางแต่งตั้งซีซาเรียนเป็นผู้ร่วมครองบัลลังก์ (สันนิษฐานกันว่าพระนางลอบวางยาพิษทอเลมี ผู้เป็นอนุชาของตนเอง)
สี่ปีต่อมาเขาเดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย และได้สานสัมพันธ์กับพระนางทั้งยังถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้น เป็นต้นมา เขาอภิเษกสมรสกับพระนางตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย น้องสาวของ อ็อกตาเวียน (หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม) เขามีบุตรกับพระนางอีกหนึ่งคน ชื่อ ทอเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่พระนางและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่ 34 ก่อนคริสตกาล (หลังจากที่เขามีชัยเหนืออาร์มีเนีย) พระนางกับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์มีเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนทอเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย, ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้พระนางยังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย
มีเหตุการณ์อันโด่งดังมากมายเกี่ยวกับคลีโอพัตรา ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดซึ่งไม่อาจตรวจสอบความจริงได้ คือเรื่องพระกระยาหารค่ำมูลค่าแพงลิบ โดยพระนางหยอกเย้าพนันกับแอนโทนีว่าสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับ พระกระยาหารมื้อเดียวได้ เขารับพนัน คืนต่อมาหลังพระกระยาหารค่ำธรรมดา พระนางรับสั่งให้นำน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วยเข้ามาถวาย แล้วทรงถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ หย่อนลงไปในถ้วยปล่อยให้ไข่มุกละลายแล้วดื่มส่วนผสมนั้น
พฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงโน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของ แอนโทนี เผชิญหน้ากับทัพเรือทหารโรมันนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราร่วมออกรบด้วยทัพเรือของพระนางเองและเห็นกองเรือของเขาที่มีแต่ เรือขนาดเล็กขาดแคลนยุทโธปกรณ์ ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางนำเรือหลบหนี ทำให้แอนโทนี ทิ้งสนามรบกลางทะเลและรีบตามพระนางไป
มักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราใช้งูพิษชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอสพฺ (asp) ซึ่งเป็นศัพท์เทคนิค โดยทั่วไปหมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในแอฟริกา และยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ประหารนักโทษในบางครั้ง มีเรื่องเล่าว่าพระนางทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ นานากับข้าราชบริพารและนักโทษหลายคน ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด
ด้วยความมีเชื้อสายกรีก - มาเซโดเนีย ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของราชวงศ์ทอเลมี (ซึ่งปกครองอิยิปต์ยาวนานกว่า 300 ปี) ที่มีชื่อเสียงในอัจฉริยะภาพเป็นเลิศอย่างแตกฉานทางภาษาอียิปต์ และภาษาต่างประเทศอีก 14 ภาษา
Cr. https://th.wikipedia.org/
ปัจจุบัน คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้น ๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อน ๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกัน ลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา , สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศ เท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น
วัยเยาว์
คลีโอพัตราที่ 7 เป็นชาวกรีก กำเนิดในดินแดนอเล็กซานเดรีย, อียิปต์โบราณ ได้ขึ้นครองราชย์ลำดับถัดจาก ทอเลมีที่ 12 แห่งอียิปต์ ขณะนั้นพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ได้ร่วมกันก่อการกบฏขึ้น ทำให้ฟาโรห์ทอเลมีที่ 12 ออเลติส ต้องเดินทางไปขอกำลังเสริมจากสภาซีเนตแห่งกรุงโรม และจ่ายเงินตามข้อเรียกร้องของ ออกัส กาบิเนียส จำนวน 10,000 เทลแลนด์ เนื่องจากฟาโรห์ไม่มีเงินพอ จึงขอยืมเงินจากคหบดีผู้ร่ำรวยนาม ราบีเรียส โพลตูมัส แล้วกลับอียิปต์พร้อมกองกำลังเพื่อจัดการกับผู้ก่อการกบฏ และได้สั่งประหารพระนางเบเนไซน์กับแม่ทัพอาร์เชลล์ ทำให้ราบีเรียสได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระคลังของอียิปต์ขึ้นครองราชย์
ราบีเรียสรีดไถชาวอียิปต์อย่างหนัก ทำให้ชาวเมืองลุกฮือต่อต้านด้วยความไม่พอใจ จนเขาต้องหนีกลับโรม เมื่อพระบิดาของพระนางสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 51 ก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระราชาเมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกองค์ที่มีชื่อว่าอาร์สิโนเอ ในช่วงแรก พระนางครองราชย์ร่วมกับพระบิดาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ทอเลมีที่ 13 ผู้ต่อต้านการปกครองของโรมันและทอเลมีที่ 14 แต่การสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ทอเลมีนั้น นิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินีคือคลีโอ พัตรา เพื่อขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชาและสวามีของพระนางสวรรคตลง คลีโอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน ขึ้นครองบัลลังก์ร่วมกัน ระหว่างปีที่ 44 - 30 ก่อนคริสตกาลความสัมพันธ์กับจูเลียส ซีซาร์
ในปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของทอเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปรธินุส เข้ายึดอำนาจของคลีโอพัตรา พระนางหนีจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาติดตามไปด้วย ต่อมาในปีเดียวกัน อำนาจของทอเลมีที่ 13 ถูกลิดรอนเมื่อเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรม กรณีที่พระองค์เอาใจซีซ่าร์ด้วยการประหารนายพลปอมเปอุส มักนุส (ซึ่งมีภรรยาเป็นลูกสาวของ จูเลียส ซีซาร์ นางเสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ซึ่งหลบหนีซีซาร์มาที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซีซาร์ไม่พอใจการกระทำดังกล่าว จึงยกทัพบุกยึดเมืองหลวงของอียิปต์ พร้อมกับตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างทอเลมีที่ 13 และ คลีโอพัตรา หลังจากการสู้รบช่วงสั้น ๆ ทอเลมีสิ้นพระชนม์ ซีซาร์คืนอำนาจให้แก่พระนาง โดย ทอเลมีที่ 14 เป็นผู้ร่วมครองบัลลังก์ซีซาร์ พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล - 47 ก่อนคริสตกาล พระนางสร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของเขา ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ พระนางให้กำเนิดพระโอรสชื่อทอเลมี ซีซาร์ อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดอำนาจของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน
พระนางกับซีซาเรียนเดินทางเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล ในช่วงเหตุการณ์ลอบสังหารซีซ่าร์
ก่อนกลับถึงอียิปต์เพียง เล็กน้อย ทอเลมีที่ 14 สวรรคตอย่างลึกลับ พระนางแต่งตั้งซีซาเรียนเป็นผู้ร่วมครองบัลลังก์ (สันนิษฐานกันว่าพระนางลอบวางยาพิษทอเลมี ผู้เป็นอนุชาของตนเอง)
ความสัมพันธ์กับมาร์ค แอนโทนี
ในปีที่ 42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม (ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงสุญญากาศทางอำนาจหลังอสัญกรรมของซีซาร์) ขอให้คลีโอพัตราเดินทางมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน ต่อมาในช่วงฤดูหนาวเขาใช้เวลาอยู่กับพระนางในอเล็กซานเดรีย จนมีโอรส - ธิดาฝาแฝด พระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตรา เซเลเนสี่ปีต่อมาเขาเดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย และได้สานสัมพันธ์กับพระนางทั้งยังถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้น เป็นต้นมา เขาอภิเษกสมรสกับพระนางตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย น้องสาวของ อ็อกตาเวียน (หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม) เขามีบุตรกับพระนางอีกหนึ่งคน ชื่อ ทอเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่พระนางและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่ 34 ก่อนคริสตกาล (หลังจากที่เขามีชัยเหนืออาร์มีเนีย) พระนางกับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์มีเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนทอเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย, ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้พระนางยังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย
มีเหตุการณ์อันโด่งดังมากมายเกี่ยวกับคลีโอพัตรา ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดซึ่งไม่อาจตรวจสอบความจริงได้ คือเรื่องพระกระยาหารค่ำมูลค่าแพงลิบ โดยพระนางหยอกเย้าพนันกับแอนโทนีว่าสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับ พระกระยาหารมื้อเดียวได้ เขารับพนัน คืนต่อมาหลังพระกระยาหารค่ำธรรมดา พระนางรับสั่งให้นำน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วยเข้ามาถวาย แล้วทรงถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ หย่อนลงไปในถ้วยปล่อยให้ไข่มุกละลายแล้วดื่มส่วนผสมนั้น
พฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงโน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของ แอนโทนี เผชิญหน้ากับทัพเรือทหารโรมันนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราร่วมออกรบด้วยทัพเรือของพระนางเองและเห็นกองเรือของเขาที่มีแต่ เรือขนาดเล็กขาดแคลนยุทโธปกรณ์ ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางนำเรือหลบหนี ทำให้แอนโทนี ทิ้งสนามรบกลางทะเลและรีบตามพระนางไป
สิ้นพระชนม์
หลังการรบที่อ่าวแอคติอุม อ็อกตาเวียนยกพลขึ้นบกบุกอียิปต์ ขณะใกล้ถึงอเล็กซานเดรีย กองกำลังของแอนโทนีหนีทัพไปร่วมด้วย คลีโอพัตรา และ มาร์ค แอนโทนี ตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยพระนางใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ ถูก อ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ ส่วนโอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับแอนโทนี รอดชีวิตและต้องเดินทางไปโรม โดยการร้องขอและช่วยเหลือของ อ็อกตาเวีย อดีตภรรยาของเขามักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราใช้งูพิษชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอสพฺ (asp) ซึ่งเป็นศัพท์เทคนิค โดยทั่วไปหมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในแอฟริกา และยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ประหารนักโทษในบางครั้ง มีเรื่องเล่าว่าพระนางทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ นานากับข้าราชบริพารและนักโทษหลายคน ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด
ด้วยความมีเชื้อสายกรีก - มาเซโดเนีย ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของราชวงศ์ทอเลมี (ซึ่งปกครองอิยิปต์ยาวนานกว่า 300 ปี) ที่มีชื่อเสียงในอัจฉริยะภาพเป็นเลิศอย่างแตกฉานทางภาษาอียิปต์ และภาษาต่างประเทศอีก 14 ภาษา
Cr. https://th.wikipedia.org/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น