ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟันโคค หรือ วินเซนต์ แวน โก๊ะ
ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค หรือที่ในไทยรู้จักในชื่อ วินเซนต์ แวน โก๊ะ (30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะสมัยใหม่ด้วย
ผลงานที่สีสันสดใสและมีผลกระทบทางอารมณ์
เขามีอาการของโรควิตกกังวลและต้องต่อสู้กับอาการป่วยทางจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในบั้นปลายชีวิต จนกระทั่งเสียชีวิตด้วยแผลที่ยิงตัวเองเมื่ออายุ 37 ปี
เขาไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับตอนที่มีชีวิตอยู่ แต่เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นหลังจากเสียชีวิตแล้ว ทุกวันนี้เขานับเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งและเป็นผู้มี อิทธิพลต่อพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่ ฟัน โคค เริ่มวาดรูปเมื่อเขาอายุย่างเข้า 20 ตอนปลาย และผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาถูกวาดในระยะ 2 ปีสุดท้ายของชีวิต เขาสร้างผลงานมากกว่า 2,000 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยภาพเขียน 900 ชิ้น ภาพวาดและแบบร่าง 1,100 ชิ้น ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะนวยุคนิยมที่ ตามมา ปัจจุบันผลงานหลายชิ้นของเขา เช่นภาพเขียนตัวเอง ภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และดอกทานตะวัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและแพงที่สุดในโลก
ฟันโคค เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่เมืองซึนเดิร์ต (Zundert) ในภูมิภาคบราแบนต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ (เป็นเมืองที่ติดกับชายแดนเบลเยียม) มีพ่อเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน เป็นชนชั้นกลางที่มีชีวิตแบบแคบ ๆ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้เข้าทำงานที่ห้องภาพแห่งหนึ่งที่เดอะเฮก กับญาติที่ทำงานด้านศิลปะ และเมื่อเขามีอายุได้ 18 ปี เขาก็ถูกส่งตัวไปยังห้องภาพที่สาขาปารีส ด้วยความที่เขาเป็นคนซื่อ และความเบื่อหน่ายที่ทางห้องภาพเอารูปเลว ๆ มาหลอกขายกับคนที่ไม่รู้จักศิลปะ เขาถึงกับบอกให้ลูกค้าไม่ให้ซื้อภาพนั้น จนกระทั่งทางร้านไม่พอใจไล่เขาออกจากงานในที่สุด
หลังจากนั้น เขาจึงหันไปศึกษาทางศาสนาอย่างจริงจัง หลังจากสอบเข้าวิทยาลัยศาสนาที่นครอัมสเตอร์ดัมได้ 14 เดือน เขาพบว่าตนเองไม่ได้อะไรอย่างที่ตั้งใจไว้ จึงเลิกเรียนเสียและได้ย้ายไปอยู่ในเหมืองถ่านหินในตำบลบอรีนาฌ เพื่อเทศนาสั่งสอนและช่วยเหลือคนทุกข์ยากในเหมืองนั้นโดยไม่รู้จักเหน็ด เหนื่อย เขาอุทิศเงินจำนวนหนึ่งให้กับคนทุกข์ยากโดยที่ตนเองมีเงินใช้อย่างจำกัด และต้องกินเศษขนมปัง ทำให้ร่างกายผอมลงและเป็นพิษไข้ เพราะการบริโภคที่ผิดอนามัยและความหนาวเหน็บจากกองไฟกองเล็กที่ไม่อาจสู้กับ ความหนาวเย็นของอากาศได้ ทำให้ความงก ๆ เงิ่น ๆ ของเขามีมากยิ่งขึ้น
ฟันโคค เป็นคนที่พูดไม่เก่ง การเทศนาสั่งสอนของเขาไม่อาจจับจิตชาวเหมืองได้ ประกอบกับความใจบุญของเขาทำให้คนเหล่านั้นมองว่าเขาเป็นคนแปลก ทำให้เขาเศร้าใจมาก ในที่สุดชีวิตของเขาต้องเร่ร่อนไปอย่างไร้จุดหมาย เขาไม่ยอมแม้กระทั่งที่จะเขียนจดหมายถึงเตโอ น้องชายคนสนิท
จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1880 เขาได้เขียนจดหมายมาบอกกับเตโอ น้องของเขาว่า เขาค้นพบแล้วว่า ศิลปะ คือทุกสิ่งทุกอย่างของเขา และเข้ามาแทนที่สิ่งอื่น ๆ จนหมด เขาใช้เวลาเพื่อศึกษามันด้วยตนเองอย่างจริงจัง ก่อนหน้านั้นเขาเคยเขียนรูปมาบ้างแต่ไม่จริงจังเท่าไหร่ แต่ต่อจากนี้ไปมันคือชีวิตจิตใจของเขา (จดหมายที่ฟัน โคค เขียนถึงน้องชายของเขา ในปัจจุบันก็เป็นที่ต้องการและมีความสำคัญมากต่อการชมงานศิลปะของเขา)
ฟันโคค ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสายศิลปะอย่างลำบากยากแค้น เขายิงตัวเองเข้าทางสีข้างด้านซ้าย ในวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1890 หลังจากการเขียน "รูปทางสามแพร่ง" (Wheat Field with Crows) (งานชิ้นนี้อาจจะสื่อถึงการหาทางออกให้กับของชีวิตของเขาเอง ที่เปรียบเสมือนทาง 3 สายที่มาบรรจบกันทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางใดต่อ) ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายของเขาที่ทุ่งนา แต่เขาไม่เสียชีวิตทันที โดยเขาได้เอามือกดปากแผลไว้และเดินกลับมาที่ร้านกาแฟที่เขาพัก
ฟันโคค สิ้นใจในวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 1890 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของเพื่อน ๆ ศพของเขาถูกฝังไว้ในสุสานเล็ก ๆ ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส
หลังจากนั้นอีก 1 ปีต่อมา เตโอ น้องชายก็เสียชีวิตตามพี่ชายของเขาไปเนื่องจากความโศกเศร้าและอาการเจ็บป่วย เรื้อรัง ศพของเตโอถูกฝังที่เมืองยูเทรกต์ และในอีก 23 ปีต่อมา ภรรยาของเตโอจึงย้ายศพของเขาบางส่วนมาฝังไว้ใกล้ ๆ ศพของฟัน โคค ในที่สุดพี่น้องที่รักกันมากก็ได้มาอยู่ด้วยกันในสุสานเล็ก ๆ ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ
ค.ศ. 2013 ได้มีการพบผลงานของเขาอีกชิ้นชื่อ "อาทิตย์อัสดงที่มงมาฌูร์" (Sunset at Montmajour) ที่ห้องใต้หลังคาของนักสะสมชาวนอร์เวย์
"ภาพเขียนตัวเอง"
เขาไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับตอนที่มีชีวิตอยู่ แต่เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นหลังจากเสียชีวิตแล้ว ทุกวันนี้เขานับเป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งและเป็นผู้มี อิทธิพลต่อพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่ ฟัน โคค เริ่มวาดรูปเมื่อเขาอายุย่างเข้า 20 ตอนปลาย และผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาถูกวาดในระยะ 2 ปีสุดท้ายของชีวิต เขาสร้างผลงานมากกว่า 2,000 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยภาพเขียน 900 ชิ้น ภาพวาดและแบบร่าง 1,100 ชิ้น ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะนวยุคนิยมที่ ตามมา ปัจจุบันผลงานหลายชิ้นของเขา เช่นภาพเขียนตัวเอง ภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน และดอกทานตะวัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและแพงที่สุดในโลก
ฟันโคค เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่เมืองซึนเดิร์ต (Zundert) ในภูมิภาคบราแบนต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ (เป็นเมืองที่ติดกับชายแดนเบลเยียม) มีพ่อเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน เป็นชนชั้นกลางที่มีชีวิตแบบแคบ ๆ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้เข้าทำงานที่ห้องภาพแห่งหนึ่งที่เดอะเฮก กับญาติที่ทำงานด้านศิลปะ และเมื่อเขามีอายุได้ 18 ปี เขาก็ถูกส่งตัวไปยังห้องภาพที่สาขาปารีส ด้วยความที่เขาเป็นคนซื่อ และความเบื่อหน่ายที่ทางห้องภาพเอารูปเลว ๆ มาหลอกขายกับคนที่ไม่รู้จักศิลปะ เขาถึงกับบอกให้ลูกค้าไม่ให้ซื้อภาพนั้น จนกระทั่งทางร้านไม่พอใจไล่เขาออกจากงานในที่สุด
หลังจากนั้น เขาจึงหันไปศึกษาทางศาสนาอย่างจริงจัง หลังจากสอบเข้าวิทยาลัยศาสนาที่นครอัมสเตอร์ดัมได้ 14 เดือน เขาพบว่าตนเองไม่ได้อะไรอย่างที่ตั้งใจไว้ จึงเลิกเรียนเสียและได้ย้ายไปอยู่ในเหมืองถ่านหินในตำบลบอรีนาฌ เพื่อเทศนาสั่งสอนและช่วยเหลือคนทุกข์ยากในเหมืองนั้นโดยไม่รู้จักเหน็ด เหนื่อย เขาอุทิศเงินจำนวนหนึ่งให้กับคนทุกข์ยากโดยที่ตนเองมีเงินใช้อย่างจำกัด และต้องกินเศษขนมปัง ทำให้ร่างกายผอมลงและเป็นพิษไข้ เพราะการบริโภคที่ผิดอนามัยและความหนาวเหน็บจากกองไฟกองเล็กที่ไม่อาจสู้กับ ความหนาวเย็นของอากาศได้ ทำให้ความงก ๆ เงิ่น ๆ ของเขามีมากยิ่งขึ้น
ฟันโคค เป็นคนที่พูดไม่เก่ง การเทศนาสั่งสอนของเขาไม่อาจจับจิตชาวเหมืองได้ ประกอบกับความใจบุญของเขาทำให้คนเหล่านั้นมองว่าเขาเป็นคนแปลก ทำให้เขาเศร้าใจมาก ในที่สุดชีวิตของเขาต้องเร่ร่อนไปอย่างไร้จุดหมาย เขาไม่ยอมแม้กระทั่งที่จะเขียนจดหมายถึงเตโอ น้องชายคนสนิท
จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1880 เขาได้เขียนจดหมายมาบอกกับเตโอ น้องของเขาว่า เขาค้นพบแล้วว่า ศิลปะ คือทุกสิ่งทุกอย่างของเขา และเข้ามาแทนที่สิ่งอื่น ๆ จนหมด เขาใช้เวลาเพื่อศึกษามันด้วยตนเองอย่างจริงจัง ก่อนหน้านั้นเขาเคยเขียนรูปมาบ้างแต่ไม่จริงจังเท่าไหร่ แต่ต่อจากนี้ไปมันคือชีวิตจิตใจของเขา (จดหมายที่ฟัน โคค เขียนถึงน้องชายของเขา ในปัจจุบันก็เป็นที่ต้องการและมีความสำคัญมากต่อการชมงานศิลปะของเขา)
ฟันโคค ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสายศิลปะอย่างลำบากยากแค้น เขายิงตัวเองเข้าทางสีข้างด้านซ้าย ในวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1890 หลังจากการเขียน "รูปทางสามแพร่ง" (Wheat Field with Crows) (งานชิ้นนี้อาจจะสื่อถึงการหาทางออกให้กับของชีวิตของเขาเอง ที่เปรียบเสมือนทาง 3 สายที่มาบรรจบกันทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางใดต่อ) ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายของเขาที่ทุ่งนา แต่เขาไม่เสียชีวิตทันที โดยเขาได้เอามือกดปากแผลไว้และเดินกลับมาที่ร้านกาแฟที่เขาพัก
<รูปทางสามแพร่ง>
ฟันโคค สิ้นใจในวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 1890 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของเพื่อน ๆ ศพของเขาถูกฝังไว้ในสุสานเล็ก ๆ ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส
หลังจากนั้นอีก 1 ปีต่อมา เตโอ น้องชายก็เสียชีวิตตามพี่ชายของเขาไปเนื่องจากความโศกเศร้าและอาการเจ็บป่วย เรื้อรัง ศพของเตโอถูกฝังที่เมืองยูเทรกต์ และในอีก 23 ปีต่อมา ภรรยาของเตโอจึงย้ายศพของเขาบางส่วนมาฝังไว้ใกล้ ๆ ศพของฟัน โคค ในที่สุดพี่น้องที่รักกันมากก็ได้มาอยู่ด้วยกันในสุสานเล็ก ๆ ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ
ค.ศ. 2013 ได้มีการพบผลงานของเขาอีกชิ้นชื่อ "อาทิตย์อัสดงที่มงมาฌูร์" (Sunset at Montmajour) ที่ห้องใต้หลังคาของนักสะสมชาวนอร์เวย์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น