4 สุดยอดสาวงามในตำนานจีน
รายชื่อนามสตรีทั้งสี่ เรียงตามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ดังนี้
1.ไซซี : มีชีวิตอยู่ช่วง ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ในสมัยชุนชิวได้ฉายาว่า “มัจฉาจมวารี”
เป็นหนึ่งในสี่หญิงงาม แห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ ค.ศ. 506 ก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในรัฐเยว่ (State of Yue) ไซซีได้รับฉายานามว่า “มัจฉาจมวารี” ซึ่งหมายถึง “ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ” (so beautiful as to make swimming fish sink)
ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละรัฐรบกันนั้น รัฐอู๋เป็นรัฐที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะรัฐเยว่และจับตัว เยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่รัฐอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดี เพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ
ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋องเห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่รัฐ เยว่ เมื่อกลับสู่รัฐเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติทันที โดยมีฟ่านหลี่เป็นอำมาตย์คอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลี่ได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ ฝึกฝนกองกำลังทหาร พัฒนาด้านกสิกรรม และ ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน
ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน (ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตางดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งตัน (แต้ตัน) ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี่ (เถาจูกง) เสนาบดีรัฐเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับรัฐอู่ เพื่อมอมเมาให้อู่อ๋องฟูซา เจ้านครรัฐอู่ ลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูซาหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งตัน ทำให้นางเจิ้งตันน้อยใจจนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ผ่านไป 13 ปีเมื่อรัฐอู่อ่อนแอลง รัฐเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จในที่สุด
ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูซา ฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับอำมาตย์ฟ่านหลี่ที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ทะเลสาบไซ้โอว (ทะเลสาบซีหู) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วนั้น ไซซียังเป็นผู้ที่สามารถเอาชนะซุนวูเจ้าของพิชัยยุทธ์ที่โด่งดังได้อีกด้วย ในช่วงนั้นซุนวูได้นำผู้หญิงจำนวนหนึ่งมาสาธิกลยุทธ์และวิธีการต่างๆมากมาย หลายต่อหลายครั้ง ด้วยความที่เขารู้สึกว่าผู้หญิงนั้นไม่มีประโยชน์อะไรในการสงครามเนื่องจาก ไม่มีพละกำลังและความเป็นผู้นำทัดเทียมกับผู้ชายนั่นเอง
จากการสาธิตนั้น ทำให้บางครั้งมีผู้หญิงถึงกับล้มตายและบาดเจ็บ บางคนถึงกับเก็บไปคิดมากเมื่อถูกซุนวูต่อว่า(ที่จะแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมี จิตใจอ่อนแอ)จนถึงกับฆ่าตัวตาย เมื่อไซซีพบเห็นเหตุการณ์นี้เข้าหลายต่อหลายครั้งเธอก็ทนไม่ไหวอีกต่อไปใน ฐานะที่่เป็นผู้หญิงเช่นเดียวกัน เธอจึงตัดสินใจ เข้าไปปะทะกับซุนวูเพื่อให้เขาเปลี่ยนแนวคิดเรื่องผู้หญิงให้ได้ แต่เธอก็ต่อสู้ด้วยวิธีของผู้หญิง นั่นคือการโต้วาที
เธอชี้ให้ซุนวูเห็นว่าหากขาดซึ่งผู้หญิงแล้ว ต่อให้ผู้ชายชนะสงครามก็ไม่อาจทำให้กิจการบ้านเมืองดำรงต่อไปได้ เพราะผู้ชาย “ไม่สามารถสืบทายาท” หากขาดซึ่งผู้หญิง เธอถึงกับหลอกด่าซุนวูไปด้วยซ้ำว่าสิ่งใดๆก็แล้วแต่ที่เขาได้ว่า และพูดเกี่ยวกับผู้หญิงเสียๆหายๆในพิชัยยุทธ์ของเขาคงเพราะที่แท้มารดาของ เขาก็ไม่ใช่ผู้หญิง
นอกจากนี้เธอยังชี้ให้เห็นว่าในขณะที่ผู้ชายลำบากแทบตายเพื่อทำสิ่งใด บางครั้งผู้หญิงก็เพียงแค่ใช้คำพูดไ่ม่กี่คำ ยิ้ม หรือทำอะไรนิดหน่อย ผู้ชายต่างหากที่เป็นฝ่ายมายอมทำแทนให้แบบถวายชีวิต และด้วยเหตุผลยิบย่อยอีกหลายต่อหลายข้อ อีกทั้งมีการยกประวัิติศาสตร์ทั้งเรื่องของราชวงศ์และคนธรรมดา ทำให้ซุนวูถึงกับจนมุม และตั้งแต่นั้น เขาก็เลิกพูดจาดูถูกผู้หญิง และลดความรุนแรงในการสาธิตไปมาก อีกทั้งนุ่มนวลกับผู้หญิงมากขึ้น จากเหตุการณ์นี้ ผู้คน จึงขนานนามเพิ่มให้กับไซซีว่า “ไซซี…..ยอดหญิงงามผู้สยบจอมยุทธ์ มีชัยเหนือซุนวู”
2.หวังเจาจวิน (Wang Zhaojun) : มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ได้ฉายาว่า “ปักษีตกนภา”
ชื่อจริงคือ หวังเฉียง (Wang Qiang) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน หวัง เจาจวินได้รับฉายานามว่า “ปักษีตกนภา” ซึ่งหมายถึง “ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า” (so beautiful as to make flying geese fall)หวังเจาจวินเดิมเป็นนางกำนัลในวังหลวง ที่ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นส่งไปให้แก่ข่านของเผ่าซงหนู เพื่อกระชับสัมพันธ์ไมตรี
หวังเจาจวินเกิดในตระกูลผู้มั่งคัง ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เธอถูกส่งเข้าเป็นนางกำนัลในจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ก่อน พ.ศ. 504หรือ 39ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม พระจักรพรรดิไม่ทรงได้เคยพบเห็นหวังเจาจวินเลยแม้แต่ครั้งเดียว แม้ในยามที่พระจักรพรรดิทรงเลือกนางสนมใหม่จากภาพนางกำนัลที่ทรงมี และมีศักดิ์สูงพอที่จะเป็นพระสนม ภาพวาดของหวังเจาจวินก็ไม่ใช้ภาพที่นำเสนอความงามที่แท้จริงของนาง ดังนั้นพระจักรพรรดิจึงทรงมองข้ามนางไป
พ.ศ. 511หรือ 32ปีก่อนคริสตกาล หู ฮันเซีย ผู้นำเผ่าซงหนูเดินทางมาเยือนฉางอันตามธรรมเนียมระหว่างฮั่นและซงหนู เขาก็ถือโอกาศขอพระราชทานธิดาจากพระจักรพรรดิเพื่อที่จะผูกสัมพันธ์เป็น ราชบุตรเขยของพระจักรพรรดิ แต่แทนที่พระจักรพรรดิจะทรงส่งพระธิดาให้หู ฮันเซียตามที่ขอมา กลับทางเลือกนางกำนัล 5 นางมาให้ผู้นำเผ่าซงหนูเลือกเอาเอง และหนึ่งในนั้นก็คือ หวังเจาจวิน
ใน Book of the Later Han กล่าวว่า หวังเจาจวินอาสาที่จะไปเชื่อมสัมพันธ์กับเผ่าซงหนูด้วยตัวเอง เมื่อนางได้ไปปรากฏตัวในท้องพระโรง ความงามของนางถึงกับสะกดขุนนางทั่วทั้งท้องพระโรง รวมทั้งพระจักรพรรดิด้วย จนพระองค์ถึงกับทบทวนแนวพระราชดำริที่จะส่งนางไปยังซงหนู
หวังเจาจวินกลายมาเป็นภริยาคนโปรดของหู ฮันเซีย มีลูกชายด้วยกัน 2คน คนหนึ่งดูเหมือนว่าจะมีชีวิตรอดมาได้ และมีลูกสาวอีกอย่างน้อย 1 คน พ.ศ. 513 หู ฮันเซียถึงแก่กรรม นางยื่นฎีกาถึงพระจักรพรรดิฮั่นฉางตี้ ขอเดินทางกลับฉางอัน แต่ทรงปฏิเสธและสั่งให้นางทำตามธรรมเนียมของชาวซงหนู คือตกเป็นภริยาของผู้นำคนใหม่ของเผ่าซงหนู ซึ่งก็คือพี่ชายคนโตของหู ฮันเซีย หลังการแต่งงานใหม่ เธอมีลูกสาวอีก 2คน
ยังมีตำนานอื่นที่กล่าวว่า หวังเจาจวินตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงการแต่งงานกับลูกชายตัวเอง?เรื่องราวของเธอกลายมาเป็นตำนาน “การเดินทางของหวังเจาจวินสู่นอกด่าน” และ ทำให้สันติภาพระหว่างซุงหนู กับจีนดำเนินมาได้ถึง 60 ปี อย่างไรก็ตาม ในที่สุดทางจีนก็ขาดการติดต่อกับเชื้อสายของเธอตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3เป็นต้นมา เรื่องราวของเธอได้ถูกตบแต่งขึ้นมา และเธอถูกเล่าขานในลักษณะของวีรสตรีที่น่าสงสาร พรรคคอมมิวนิสต์จีน ใช้เรื่องราวของเธอเป็นสัญลักษณ์แห่งสายสัมพันธ์ระหว่างชาวฮั่นและชนชาติ อื่นๆ ในจีน ปัจจุบันสุสานของเธอยังคงปรากฏในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในการขนามนามเพิ่ม เติม“หวางเจาจวิน……ยอดพธูผู้เสียสละสู่แดนไกล”
เตียวเสียนเป็นหญิงรับใช้ที่พ่อแม่ตายแต่ยังเล็ก ได้อ้องอุ้นรับมาชุบเลี้ยง ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ยามที่อ้องอุ้นถอดถอนหายใจด้วยห่วงใยในสถานการณ์บ้านเมืองยามดึก แล้วออกมาพบเตียวเสียนนั่งร้องไห้กับเดือนอยู่ อ้องอุ้นถามว่า นังหนู ร้องไห้ด้วยเหตุใด อกหักเพราะความรักล่ะสิ เตียวเสียนตอบว่า มิได้ นางร้องไห้เพราะสงสารอ้องอุ้นที่เหมือนบิดาตนกลุ้มใจ เมื่ออ้องอุ้นได้เห็นโฉมหน้าของเตียวเสียนอย่างชัดเจนแล้วจึงอุทานว่า แผ่นดินมีคนมาช่วยแล้ว
อ้องอุ้นวางแผนให้เตียวเสียนใช้มารยาหญิงทำให้ตั๋งโต๊ะและลิโป้แตกคอกัน จนฆ่ากันเองในที่สุด โดยจะยกให้แก่ลิโป้ก่อน แล้วจึงยกให้ตั๋งโต๊ะ ซึ่งสุดท้ายทุกอย่างก็เป็นไปตามแผนที่อ้องอุ้นวางไว้ทุกประการ และหลังจากตอนนี้แล้ว เตียวเสียนก็ไปเป็นภรรยาคนที่สองของลิโป้ แต่การตายของเตียวเสียนก็ไม่ปรากฏแน่ชัด ในปัจจุบันมีการวิเคราะห์ว่า เตียวเสี้ยนแตกต่างจากหญิงงามอีกสามคนในจำนวนหญิงงามสี่แผ่นดินของจีน เนื่องจากไม่ได้รับการยืนยันว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ อาจเป็นเพียงหญิงรับใช้ของตั๋งโต๊ะที่มีความสัมพันธ์กับลิโป้ ซึ่งเป็นขุนศึกของตั๋งโต๊ะเท่านั้น
หลายคนว่า ว่าเตียวเสี้ยนนั้นเป็นหญิงเพศยา ที่ใช้มารยาจนล่มเมืองแต่ บางคนก็คิดตรงข้ามกัน ว่าผู้หญิงคนหนึ่งไปอยู่ท่ามกลางศัตรูเพื่อทำตามคำสั่งของบิดา ก็ถือว่าเธอเป็นคนกตัญญูละหนึ่ง อีกทั้งในระหว่างที่เธออยู่กับลิโป้นั้น ลองคิดว่าเป็นเราสิ คงเจอเหตุการณ์อะไรหลายๆ อย่างที่ต้องอาศัยไหวพริบ และทักษะการพูด การวางตัว เพื่อเอาตัวรอดและให้บรรลุจุดประสงค์ อีกทั้งเธอต้องเสียสละร่วมเคียงกับคนที่เธอแทบจะไมู่รู้จักด้วยซ้ำ และยังต้องทำให้เขาหลงหัวปักหัวปำให้ได้
กล่าวได้ว่า เธอต้องเสียสละชีวิตลูกผู้หญิงทั้งชีวิตเพื่อทำงานนี้เลยทีเดียวและแน่นอน เธอก็ทำได้สำเร็จ จึงกล่าวได้ว่า เธอเป็นผู้หญิง ที่ใช้ทุกอย่างซึ่งเป็นอาวุธของลูกผู้หญิง เพื่อบิดาและบ้านเมืองได้อย่างไร้เทียมทาน จริงๆการขนานนามเพิ่มเติม“เตียวเสียน……อรไทผู้ไร้บุคคลจริงแห่งสามก๊ก”
4.หยางกุ้ยเฟย (Yang Guifei) : มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ถัง ได้ฉายาว่า “มวลผกาละอายนาง”
หยางกุ้ยเฟยเกิดเมื่อ 26 มิถุนายน 719 ในมณฑลเสฉวน ชื่อเดิมคือหยางอี้หวน (Yang Yuhuan) ความงามของนางถูกเปรียบไว้ว่า “มวลผกาละอายนาง” คือความงามขนาดที่ทำให้มวลหมู่ดอกไม้ที่มีความงามอยู่แล้วต้องละอายเมื่อได้ ยลโฉมนาง
เมื่อย่างเข้าสู่วัยสาวความงามของอี้หวนก็ยิ่งลือเลื่องจนพออายุได้ 16 ปีนางก็ถูกคัดเลือกเข้าไปในวังเพื่อเป็นชายาของ “หลี่เม่า” (โอรสจักรพรรดิถังเสวียนจง) ที่มีศักดิ์เป็นโซ่วหวางซึ่งความรักของทั้งสองนั้นดูเหมือนจะราบรื่นไม่ต่าง จากสามีภรรยาทั่วไป
เส้นทางแห่งตัณหาราคะของอี้หวนได้เริ่มต้นขึ้นในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาถัง เสวียนจง หลี่เม่าพาชายาสาวสวยเข้าถวายพระพรพระราชบิดาแต่ความสวยของนางดันไปเข้าตา ผู้เป็นพ่อวัย 55 เข้าอย่างจัง หลังพิธีเสร็จสิ้นหลี่เม่าจึงถูกสั่งให้กลับเมืองตามลำพังโดยทิ้งชายาคนสวย ไว้ในวัง
จากนางผู้เป็นที่รักบัดนี้กลายเป็นแม่เลี้ยงไปเสียแล้ว อี้หวนในวัย 21 กลายเป็นคนโปรดของถังเสวียนจง นางใช้เสน่ห์ที่มีติดตัวปรนนิบัติพระสวามีให้ลุ่มหลงจนถอนตัวไม่ขึ้นและโปรด ให้นางมีฐานะ “กุ้ยเฟย” หรือก็คือสนมเอกที่ใหญ่ที่สุดเนื่องจากขณะนั้นไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งฮองเฮา
ความงามล่มแผ่นดินทำให้ฮ่องเต้ที่เคยใส่ใจบริหารบ้านเมืองยอมละทิ้งทุกอย่าง เพื่อมาร่วมรักกับนาง โดยเฉพาะเรื่องเล่าที่ว่าถังเสวียนจงชอบมาแอบดูเวลานางว่ายน้ำที่สระในหัว ชิงฉือและเมื่อจ้องมองจนเพียงพอก็จะกระโจนลงไปร่วมรักกันในสระ
บุรุษอีกรายที่เข้ามาในชีวิตของหยางกุ้ยเฟยคือแม่ทัพผู้อาจหาญนาม “อานลู่ซาน” ที่หยางกุ้ยเฟยก็รับเป็นบุตรบุญธรรมแม้จะมีอายุมากกว่านางหลายปี แล้วความสัมพันธ์สวาทเกินกว่าแม่ลูกก็ได้เริ่มขึ้นและเป็นอยู่นานจนกระทั่ง ถังเสวียนจงทราบเรื่องจึงตะเพิดอานลู่ซานออกไป
แม้จะโกรธนางมากที่แอบคบชู้แต่ความหลงใหลนั้นกลับมีมากกว่า ถังเสวียนจงยังคงมัวเมาอยู่กับหยางกุ้ยเฟยจนบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะยากแค้น อานลู่ซานที่ยังคงติดใจในบทรักกับหยางกุ้ยเฟยได้ก่อกบฏนำทัพเข้าคุกคามราช สำนักจนถังเสวียนจงต้องหลบลี้หนีภัยออกจากวังไป
จุดจบของหยางกุ้ยเฟยมาเยือนเมื่อขบวนอพยพมาถึงจุดพักม้า เหล่าทหารที่ติดตามมาอารักขาตระหนักดีว่าสาเหตุแห่งปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนั้น มาจากหยางกุ้ยเฟย แม้จะรักหยางกุ้ยเฟยมากสุดหัวใจแต่ถังเสวียนจงก็ถูกบีบให้สำเร็จโทษนางผู้ เป็นที่รักเสีย พระองค์ไม่มีทางเลือกจึงพระราชทานผ้าแพรแดงให้นางจบชีวิตตัวเองในวัยเพียง 37 ปี
หลังจากที่หยางกุ้ยเฟยฆ่าตัวตายไปแล้ว ไม่มีภาพวาดของนางปรากฏให้เห็นอีกเลย อีกทั้งตระกูลหยาง ยังถูกตัดสินฆ่าล้างทั้งตระกูล จนบัดเดี๋ยวนี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่ายังมีหลักฐานเกี่ยวกับ หยางกุ้ยเฟยหลงเหลืออีกหรือไม่?การขนานนามเพิ่มเติม "หยางกุ้ยเฟย……นงรามงามล่มชาติผู้อาภัพ"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น