สงครามเย็น (Cold War)

สงครามเย็น ( Cold War) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรนาโต้ ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ)
นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ ค.ศ. 1947–1991 สงครามเย็นได้ชื่อว่า "เย็น" เพราะไม่มีการสู้รบขนาดใหญ่โดยตรงระหว่างสองฝ่าย แม้มีสงครามในภูมิภาคสำคัญ ๆ ที่เรียก สงครามตัวแทน ในประเทศเกาหลี เวียดนามและอัฟกานิสถานซึ่งทั้งสองฝ่ายสนับสนุนก็ตาม สงครามเย็นแบ่งแยกพันธมิตรยามสงครามชั่วคราวเพื่อต่อกรกับนาซีเยอรมนี ซึ่งสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาผงาดเป็นอภิมหาอำนาจโดยมีข้อแตกต่างทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างลึกล้ำ คือ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐลัทธิมากซ์–เลนินพรรคการเมืองเดียว และสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐทุนนิยมที่มีการเลือกตั้งเสรีโดยทั่วไป กลุ่มเป็นกลางที่ประกาศตนกำเนิดขึ้นด้วยขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดซึ่งประเทศอียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซียและยูโกสลาเวียก่อตั้ง กลุ่มแยกนี้ปฏิเสธการสมาคมกับทั้งกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก สองประเทศมหาอำนาจไม่เคยประจัญในการต่อสู้ด้วยอาวุธเต็มขั้น แต่ต่างฝ่ายต่างสั่งสมอย่างหนักเตรียมรับสงครามโลกนิวเคลียร์แบบสุดตัวที่อาจเกิดขึ้น ต่างฝ่ายมีสิ่งกีดขวางนิวเคลียร์ซึ่งกีดขวางการโจมตีของอีกฝ่าย บนพื้นฐานว่าการโจมตีนั้นจะนำไปสู่การทำลายล้างฝ่ายโจมตีอย่างสิ้นซาก คือ ลัทธิอำนาจทำลายล้างซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการพัฒนาคลังนิวเคลียร์ของสองฝ่าย และการวางกำลังทหารตามแบบแล้ว การต่อสู้เพื่อครองความเป็นใหญ่ยังแสดงออกมาผ่านสงครามตัวแทนทั่วโลก การสงครามจิตวิทยา การโฆษณาชวนเชื่อและจารกรรม และการแข่งขันทางเทคโนโลยี เช่น การแข่งขันอวกาศ
สงครามเย็นเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่ประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายต่างแข่งขันกัน โดยพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม โดยประเทศมหาอำนาจจะไม่ทำสงครามกันโดยตรง แต่จะสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามตัวแทน (proxy War) เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอำนาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้นำพาไปสู่การต่อสู้ด้วยกำลังทหารโดยตรงอย่าง สงครามร้อน
ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ก่อตั้งค่ายตะวันออก (Eastern Bloc) โดยการรวมรัฐที่ได้ยึดมาจากฝ่ายนาซี เช่น โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย แล้วจึงเปลี่ยนสถานะให้เป็นรัฐสังคมนิยมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ก่อตั้งค่ายตะวันออก (Eastern Bloc) โดยการรวมรัฐที่ได้ยึดมาจากฝ่ายนาซี เช่น โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย แล้วจึงเปลี่ยนสถานะให้เป็นรัฐสังคมนิยมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต

คู่สงคราม
เริ่มต้นของสงครามเย็น ค.ศ. 1947-1953 มีประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาหลัก ๆ คือ สมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ มีประเทศพันธมิตรของโซเวียตหลัก ๆ คือสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอและสาธารณรัฐประชาชนจีน

แผนที่แสดงฝ่ายของสงครามเย็น ในค.ศ.1959
     ประเทศสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ
     ประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา
     ประเทศอาณานิคม
     ประเทศสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอ
     ประเทศพันธมิตรของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
     ประเทศที่ไม่เกี่ยวข้อง
ค.ศ. 1950 ได้เกิดสงครามเกาหลี สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือเกาหลีใต้ ส่วนโซเวียตได้ช่วยเหลือเกาหลีเหนือ จนกระทั่งสงบศึกหลังจากเวียดมินห์ได้รับชัยชนะ ฝรั่งเศสยอมรับความปราชัยและต้องสงบศึก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการลงนามใน "อนุสัญญาเจนีวา" (พ.ศ. 2497) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยมีเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ โดยเวียดนามเหนือยึดถือการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ส่วนเวียดนามใต้ยึดถือการปกครองแบบประชาธิปไตย ภายใต้การนำของโง ดินห์ เสี่ยม ทำให้สหภาพโซเวียตเข้าควบคุมเวียดนามเหนือ สหรํฐอเมริกาเข้าควบคุมเวียดนามใต้ ในตะวันออกกลาง อเมริกาได้สนับสนุนอิสราเอลในเรื่องอาวุธที่ไว้ใช้ป้องกันตัวเอง ทำให้โซเวียตตอบโต้โดยสนับสนุนสันนิบาตอาหรับในต่อต้านอิสราเอล
ในปีค.ศ. 1959 ได้มีการปฏิวัติคิวบาและได้เข้าเป็นพันธมิตรของโซเวียต ในปี ค.ศ.1960 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีความคิดคัดแย้งกัน ทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มเขมรแดง และโซมาเลีย แยกออกมาจากพันธมิตรของโซเวียต หลังจากสงครามยมคิปปูร์ เวียดนามได้เข้าเป็นพันธมิตรของโซเวียต ส่วนสันนิบาตอาหรับตัดความสัมพันธ์จากโซเวียตไปเป็นพันธมิตรของอเมริกา

แผนที่แสดงฝ่ายของพันธมิตรของโซเวียต(สีแดง) ฝ่ายของพันธมิตรของจีน(สีเหลือง) เป็นคอมมิวนิสต์แต่ไม่มีพันธมิตร(สีดำ)
ในปี ค.ศ.1979 เกิดสงครามอัฟกานิสถานที่เป็นพันธมิตรของโซเวียตได้ต่อสู้กับมุจญาฮิดีนซุนนีย์ที่อเมริกาสนับสนุน ในที่สุดมุจญาฮิดีนซุนนีย์ได้รับชัยชนะ ทำให้โซเวียตเสียพันธมิตรไป ใน ค.ศ.1989 ได้มีการเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้โซเวียตเสียพันธมิตรในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้รัฐในโซเวียตเรียกร้องอิสรภาพ ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในเวลาต่อมา

สงครามตัวแทน
  • สงครามกลางเมืองกรีซ (ค.ศ. 1946-1949)
  • สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950-1953)
  • สงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1957-1975)
  • ความขัดแย้งระหว่างอาหรับ-อิสราเอล
สงครามหกวัน (ค.ศ. 1967) .สงครามล้างผลาญ(ค.ศ. 1967-1970) .สงครามยมคิปปูร์ (ค.ศ. 1973)
  • สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน (ค.ศ. 1979-1989)

เหตุการณ์
นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาดังกล่าว คำนึงถึงสงครามเย็นเป็นหลัก นับจากปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ. 1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี
ความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยลัทธิทรูแมน วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1947 กับประกาศแผนการมาร์แชลล์ เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง การขยายอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปตะวันออก และการแบ่งแยกเยอรมนี
การวิจัยและพัฒนาโครงการทางการทหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก เกิดขึ้นในในช่วงเวลานี้ รวมถึงการแข่งขันกันสำรวจอวกาศ และการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพของฝ่ายตน

เริ่มต้นของสงคราม
ระยะแรกของสงครามเย็นเริ่มในสองปีให้หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติใน ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตรวบการควบคุมเหนือรัฐในกลุ่มตะวันออก โดยสหภาพโซเวียตได้นำกองทัพเข้ารัฐประหารประเทศต่างๆกลุ่มตะวันออกและพยายามเข้าแทรกแซงทางการเมืองในกรีซและตรุกี ขณะที่สหรัฐอเมริกาเริ่มได้เริ่มลัทธิทรูแมนคือการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาทั่วโลกเพื่อท้าทายโซเวียต โดยแผนมาร์แชลล์ขยายความช่วยเหลือทางทหารและการเงินแก่ประเทศยุโรปตะวันตก (ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองกรีซ) การตั้งพันธมิตรนาโต้
จากนั้นสหภาพโซเวียตได้ปิดล้อมเบอร์ลิน ไม่ให้กลุ่มตะวันตกเข้าช่วยเหลือชาวเบอร์ลินตะวันตก โดยหวังว่าจะให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกจะมาร่วมกับเบอร์ลินตะวันออก แต่กลุ่มตะวันตกได้ส่งของทางอากาศช่วยเหลือชาวเบอร์ลินตะวันตก โซเวียตเห็นว่าไม่ได้ผลจึงยกเลิกการปิดกั้นให้กลุ่มตะวันตกเข้ามา ด้วยชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีนและการอุบัติของสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950–53) ความขัดแย้งขยายตัว สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาแข่งขันชิงอิทธิพลในละตินอเมริกาและรัฐแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับปลดปล่อยอาณานิคม ขณะเดียวกัน การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ถูกโซเวียตหยุดยั้ง การขยายและบานปลายจุดประกายวิกฤตการณ์เพิ่มอีก เช่น วิกฤตการณ์สุเอซ (ค.ศ. 1956) วิกฤตการณ์เบอร์ลิน ค.ศ. 1961 และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ค.ศ. 1962
หลังความขัดแย้งสุดท้ายนี้ก็เริ่มระยะใหม่ซึ่งมีความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตทำให้ความสัมพันธ์ภายในเขตคอมมิวนิสต์ซับซ้อนยิ่งขึ้น ขณะที่พันธมิตรของสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศฝรั่งเศส แสดงอิสระในการปฏิบัติมากขึ้น สหภาพโซเวียตปราบปรามโครงการเปิดเสรีปรากสปริง ค.ศ. 1968 ในเชโกสโลวาเกีย และสงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1955–1975) ยุติลงด้วยความปราชัยของสาธารณรัฐเวียดนามใต้ที่สหรัฐหนุนหลัง ทำให้มีการปรับแก้เพิ่ม

การผ่อนคลายครั้งแรก
ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ทั้งสองฝ่ายต่างสนใจในการผ่อนปรนเพื่อสถาปนาระบบระหว่างประเทศที่เสถียรมั่นคงและทำนายได้มากขึ้น อันเริ่มระยะการผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีการเจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์และสหรัฐเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นการถ่วงดุลยุทธศาสตร์กับสหภาพโซเวียต และเจรญาสนธิสัญญาควบคุมอาวุธ SALT I (ค.ศ. 1974) และ SALT II (ค.ศ.1979) การผ่อนคลายความตึงเครียดทลายลงเมื่อสิ้นทศวรรษโดยสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานเริ่มใน ค.ศ. 1979 เป็นการพยายามให้อัฟกานิสถานยังเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์
ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น โดยการที่โซเวียตยิงโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ตก (ค.ศ. 1983) และการซ้อมรบ "เอเบิลอาร์เชอร์" ของนาโต้ (ค.ศ. 1983) สหรัฐเพิ่มการกดดันทางการทูต ทหารและเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียต

สิ้นสุดสงครามเย็น
เป็นช่วงปลายสงครามเย็น สหภาพโซเวียตกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซาอยู่แล้ว ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำโซเวียตคนใหม่ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ริเริ่มการปฏิรูปเปิดเสรีเปเรสตรอยคา (ค.ศ. 1987) และกลัสนอสต์ (ประมาณ ค.ศ. 1985) ยุติการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน และการสนธิสัญญาควบคุมขีปนาวุธ INF
การกดดันเรียกร้องเอกราชของชาติยิ่งเติบโตขึ้นในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโปแลนด์ ฝ่ายกอร์บาชอฟไม่ยอมใช้ทหารโซเวียตเพื่อค้ำจุดระบอบสนธิสัญญาวอร์ซอที่ไม่มั่นคงดังที่เคยเป็นในอดีต ผลลงเอยด้วยใน ค.ศ. 1989 เกิดคลื่นปฏิวัติซึ่งโค่นระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
พรรคคอมมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเองเสียการควบคุมและถูกห้ามหลังความพยายามรัฐประหารอันไร้ผลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 แล้วนำไปสู่การยุบสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 และการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่นอย่างประเทศมองโกเลีย กัมพูชาและเยเมนใต้ สหรัฐเหลือเป็นประเทศอภิมหาอำนาจของโลกแต่ผู้เดียว

ประเทศที่แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต 15 ประเทศได้แก่

1. รัสเซีย – สหพันธรัฐรัสเซีย Russian Federation (Russian SFSR)เมืองหลวง คือ มอสโก
2. ยูเครน Ukrainian SSRเมืองหลวง คือ เคียฟ Kiev
3. อาร์เมเนีย Armenian SSRเมืองหลวง คือ เยราวาน Yerevan
4. เบลารุส Byelorussian SSR เมืองหลวง คือ มินสก์ Minsk
5. จอร์เจีย Georgian SSR เมืองหลวง คือ ทบีลีซี Tbilisi
6. มอลโดวา Moldavian SSR เมืองหลวง คือ คีนีเนฟ Chişinău
7. คาซัคสถาน Kazakh SSR เมืองหลวง คือ อัลมา-อาตา Alma-Ata
8. อุซเบกิสถาน Uzbek SSR เมืองหลวง คือ ทัสเคนต์ Tashkent
9. เติร์กเมนิสถาน Turkmen SSR เมืองหลวง คือ อัชกาบาด Ashgabat
10. คีร์กิซสถาน Kirghiz SSR เมืองหลวง คือ ฟรุณซ์ Frunze
11. ทาจิกิสถาน Tajik SSRเมืองหลวง คือ ดูซัมบี Dushanbe
12. อาเซอร์ไบจาน Azerbaijan SSRเมืองหลวง คือ บากู Baku
13. เอสโตเนีย* Estonian SSRเมืองหลวง คือ ทัลลินา Tallinn
14. แลตเวีย*Latvian SSR เมืองหลวง คือ ริกา Riga
15. ลิธัวเนีย*Lithuanian SSR เมืองหลวง คือ วิลนิอุส Vilnius

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม